วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด ภูเก็ต

ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต คือ " ต้นประดู่ "

คำขวัญประจำจังหวัด

" ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

ต้นไม้มงคลพระราชทาน

ต้น ประดู่บ้านประดู่บ้าน

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงโปรดพระราชทาน
กล้าไม้มงคล ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตนำไปปลูกเพื่อเป็นศิริมงคล
แก่ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต เนื่องในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวร
เฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

ชื่อพันธุ์ไม้ ประดู่บ้าน

ชื่อสามัญ Burmese Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล เข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆใบเป็นใบ ประกอบแบบ ขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็น ช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็น แผ่นกลม ตรงกลางนูน

ประโยชน์

เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังและให้สีน้ำตาล สำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำ


สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของชาวภูเก็ตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ และวัดวาอาราม สำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ต สามารถแบ่งได้เป็น สถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน สถาปัตยกรรมแบบจีน และสถาปัตยกรรมแบบผสม (แบบชิโนโปรตุกิส) ซึ่งมีรายละเอียดังนี้

รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบพื้นบ้าน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้โกงกาง หวาย และจาก
คุณสมบัต หาได้ง่ายจาก ท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญ การตั้งเสาเรือนจะไม่ฝัง ดิน แต่จะวางหินเป็นฐาน
คุณสมบัติ ป้องกันการทรุด ตัว เพราะพื้นดินมีสภาพเป็นดินทราย
ลักษณะสำคัญ ฝาเรือนทำด้วยไม้ไผ่ขัด แตะเป็นลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายสองฯลฯ ไม่นิยม เจาะหน้าต่าง
คุณสมบัติ อากาศสามารถ ถ่ายเทได้สะดวก
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือน ไม่มีระเบียง
คุณสมบัต เข้ากับสภาพภูมิ อากาศ ช่วงฝนตก พื้นเรือนจะไม่ผุ
ที่ตั้งบริเวณ บ้านดอน บ้านเคียน บ้านไนทอน และ บ้านฉลอง


รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบจีน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดินเผา และดินเหนียว
คุณสมบัต แข็งแรง และมี ความทนทาน
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือนส่วนใหญ่จะเตี้ย
คุณสมบัติ เหมาะกับสภาพ อากาศที่ฝนตกชุก และลมแรง
ที่ตั้งบริเวณ อำเภอกะทู้


รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบผสม ( แบบชิโนโปรตุกิส )

ลักษณะสำคัญ ตัวตึกมีลักษณะผสม แบบยุโรป และเอเชีย ( จีน )
คุณสมบัต อาคารไม่ร้อนอบ อ้าว มีแสงสว่าง ตามธรรมชาติ
ลักษณะสำคัญ มีทางเดินใต้ตึกเชื่อมต่อ กันระหว่างแต่ละตึก เรียกว่า อาเขต
คุณสมบัติ ช่วงฝนตกสามารถ เดินได้โดยไม่เปียก
ที่ตั้งบริเวณ บริเวณตัวเมือง ภูเก็ต ได้แก่ ถนน ถลาง ถนนรัษฎา ถนนเยาวราช ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น