วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลการท่องเที่ยว

เกาะ

ภูเก็ตมีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการท่องเที่ยวทางทะเล บริการอย่างพร้อมมูล ทำให้เมืองภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ในน่านน้ำทะเลอันดามัน ไม่ว่าจะเป็นการดำน้ำดูปะการัง เล่นน้ำตามแนวหาดทราย การตกปลา ชมธรรมชาติป่าเขา และโขดหินบนเกาะ

ภูเก็ตมีเกาะบริวารทั้งหมด 39 เกาะ ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต เกาะที่น่าสนใจ ได้แก่

เกาะราชาใหญ่

เกาะราชาน้อย

เกาะไม้ท่อน

เกาะเฮ

เกาะโหลน

เกาะตะเภาใหญ่

เกาะรังใหญ่

เกาะมะพร้าว

เกาะนาคาน้อย

เกาะไข่นอก

เกาะบอน

ฯลฯ

แหลม

แหลมพรหมเทพ

แหลมสิงห์

แหลมพันวา

แหลมกา

ชายหาด

หาดป่าตอง

หาดไม้ขาว

หาดในทอน

หาดสุรินทร์

หาดกะตะ

หาดกะรน

หาดราไวย์

หาดในยาง

หาดบางเทา

หาดกมลา

หาดกะหลิม

หาดในหาน

หาดทรายแก้ว

อ่าว

อ่าวฉลอง

ชายหาดเป็นรูปโค้งยาวเหยียด ทะเลบริเวณนี้ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะชายหาดเป็นทรายปนโคลน แต่เหมาะสำหรับ การจอดเรือ ไม่ว่าจะเป็นเรือให้เช่าไปเกาะต่างๆ หรือเรือยอช์ทส่วนตัว ปัจจุบันมีสะพานเทียบเรือขนาดใหญ่ และยาวยื่นลงไปในทะเล เหมาะกับการเดินเล่นสูดอากาศบริสุทธิ์ หรือวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้าหรือเย็น


อ่าวเสน

อ่าวเสนเป็นอ่าวเล็กๆ ติดกับหาดในหานไปทางขวา ผ่านโรงแรมเลอรอยัลเมอร์ริเดียน ภูเก็ตยอร์ชคลับเป็นชายหาดเล็กๆ ที่สงบมีโขดหินน้อยใหญ่หาดทรายขาวสะอาด การไปอ่าวเสน ต้องขับรถผ่านใต้อาคารจอดรถ ของโรงแรมเลอรอยัลเมอร์ริเดียน ภูเก็ตยอร์ชคลับ ไปตามถนนเล็กๆประมาณ 0.5 กิโลเมตร ก็จะถึงอ่าวเสน

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด ภูเก็ต

ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต คือ " ต้นประดู่ "

คำขวัญประจำจังหวัด

" ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม "

ต้นไม้มงคลพระราชทาน

ต้น ประดู่บ้านประดู่บ้าน

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงโปรดพระราชทาน
กล้าไม้มงคล ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตนำไปปลูกเพื่อเป็นศิริมงคล
แก่ประชาชนชาวจังหวัดภูเก็ต เนื่องในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวร
เฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

ชื่อพันธุ์ไม้ ประดู่บ้าน

ชื่อสามัญ Burmese Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.

วงศ์ LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล เข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆใบเป็นใบ ประกอบแบบ ขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็น ช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็น แผ่นกลม ตรงกลางนูน

ประโยชน์

เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังและให้สีน้ำตาล สำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำ


สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของชาวภูเก็ตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ ที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ และวัดวาอาราม สำหรับที่อยู่อาศัยที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ต สามารถแบ่งได้เป็น สถาปัตยกรรมแบบพื้นบ้าน สถาปัตยกรรมแบบจีน และสถาปัตยกรรมแบบผสม (แบบชิโนโปรตุกิส) ซึ่งมีรายละเอียดังนี้

รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบพื้นบ้าน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ไม้ไผ่ ไม้โกงกาง หวาย และจาก
คุณสมบัต หาได้ง่ายจาก ท้องถิ่น
ลักษณะสำคัญ การตั้งเสาเรือนจะไม่ฝัง ดิน แต่จะวางหินเป็นฐาน
คุณสมบัติ ป้องกันการทรุด ตัว เพราะพื้นดินมีสภาพเป็นดินทราย
ลักษณะสำคัญ ฝาเรือนทำด้วยไม้ไผ่ขัด แตะเป็นลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายสองฯลฯ ไม่นิยม เจาะหน้าต่าง
คุณสมบัติ อากาศสามารถ ถ่ายเทได้สะดวก
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือน ไม่มีระเบียง
คุณสมบัต เข้ากับสภาพภูมิ อากาศ ช่วงฝนตก พื้นเรือนจะไม่ผุ
ที่ตั้งบริเวณ บ้านดอน บ้านเคียน บ้านไนทอน และ บ้านฉลอง


รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบจีน

ลักษณะสำคัญ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดินเผา และดินเหนียว
คุณสมบัต แข็งแรง และมี ความทนทาน
ลักษณะสำคัญ ตัวเรือนส่วนใหญ่จะเตี้ย
คุณสมบัติ เหมาะกับสภาพ อากาศที่ฝนตกชุก และลมแรง
ที่ตั้งบริเวณ อำเภอกะทู้


รูปแบบ สถาปัตยกรรม : แบบผสม ( แบบชิโนโปรตุกิส )

ลักษณะสำคัญ ตัวตึกมีลักษณะผสม แบบยุโรป และเอเชีย ( จีน )
คุณสมบัต อาคารไม่ร้อนอบ อ้าว มีแสงสว่าง ตามธรรมชาติ
ลักษณะสำคัญ มีทางเดินใต้ตึกเชื่อมต่อ กันระหว่างแต่ละตึก เรียกว่า อาเขต
คุณสมบัติ ช่วงฝนตกสามารถ เดินได้โดยไม่เปียก
ที่ตั้งบริเวณ บริเวณตัวเมือง ภูเก็ต ได้แก่ ถนน ถลาง ถนนรัษฎา ถนนเยาวราช ฯลฯ

เดินชมเมืองเก่าภูเก็ต

การเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต ... เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีส เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่ง เพราะจะได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม วิถีชีวิต และที่สำคัญ อาหารที่อร่อยเลื่องชื่อ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 4.6 กิโลเมตร โดยมีช่วงของการแวะพักถึง 6 ช่วง

ช่วงที่ 1 ถนนภูเก็ต ถนนรัษฎาและถนนระนอง
จุด เริ่มต้นเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต...เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีส เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ พิพิธภัณฑ์โรงแรมถาวร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา วงเวียนสุริยเดช จนถึงบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)

ช่วงที่ 2 ถนนพังงา ถนนภูเก็ต และถนนมนตรี
เริ่มจากมุมถนนระนองตัดกับถนนเยาวราช บริเวณวงเวียนสุริยเดช เดินไปตามถนนเยาวราช เลี้ยวขวาเข้าถนนพังงาจนถึงสี่แยก ตัดกับถนนภูเก็ต จะพบกับศาลเจ้าแสงธรรม โรงแรมออนออน ตึกเก่าถนนพังงา อาคารธนาคารนครหลวงไทย ไปจนถึงอาคารไปรษณีย์โทรเลข

ช่วงที่ 3 ถนนถลาง
นับ เป็นถนนสายประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่ง มีอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมเกาะกลุ่มกันมากที่สุด โดยเฉพาะลักษณะการเปิดช่องทางเดินหรือหง่อคากี่เอาไว้เหมือนในอดีต มีตึกแถวคูหาอยู่ทั้งสิ้น 141 คูหา

ช่วงที่ 4 ถนนกระบี่ และถนนสตูล
เริ่ม จากถนนกระบี่ จะพบความสวยงามของอาคาร พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว โรงเรียนภูเก็ตกุลธิดา โรงพยาบาลสิริโรจน์เดิม สามารถชม อังมอเหลา คฤหาสน์พระพิทักษ์ชินประชา และบ้านคุณประชา ตัณฑวณิช

ช่วงที่ 5 ถนนดีบุก ถนนเยาวราช ตรอกสุ่นอุทิศ และซอยรมณีย์
ช่วงนี้เริ่มจากแยกถนนดีบุก ตัดกับถนนสตูล จะพบกับคฤหาสน์ต้นตระกูลตัณฑเวสบ้านหลวงอำนาจนรารักษ์ เดินตามถนนดีบุก ถนนสายย่านบ้านนายเหมืองเก่า จนถึงสี่แยกตัดกับถนนเยาวราช เมื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนเยาวราช จะสัมผัสกับบรรยากาศตึกเก่าและอาหารว่างยามบ่ายในตรอกสุ่นอุทิศ หากย้อนกลับมาสี่แยกเลี้ยวเข้าถนนดีบุก อีกช่วงหนึ่งจะเข้าสู่ซอยรมณีย์

ช่วงที่ 6 ถนนเทพกระษัตรี
เป็น ช่วงสุดท้ายในการเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต อาจแวะชมบ้านเก่าแล้วย้อนออกมาตามถนนเทพกระษัตรีย์อีกครั้ง จนไปสิ้นสุดเส้นทางที่คฤหาสน์ตระกูลหงษ์หยก บริษัทอนุภาษและบุตรจำกัด

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

บ้านชินประชา

เป็นบ้านเก่าแก่สไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่งสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกของเกาะภูเก็ต มีอายุกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ ในตัวเมืองภูเก็ต เป็นบ้านของตระกูล ตัณฑวณิช ผู้เป็นเจ้าของได้อนุรักษ์ตัวอาคารและเครื่องเรือนเครื่องใช้ต่าง ๆ ในบ้านไว้เป็นอย่างดี โดยมีความมุ่งหวังให้สถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภูเก็ตผ่าน การใช้ชีวิตของผู้คนชาวภูเก็ต ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

ลักษณะที่โดดเด่นของบ้าน คือ เป็นบ้านสองชั้น ประตูบ้านลงรักปิดทอง มีอักษรจีน มีหน้าต่างไม้หลายบานซึ่งในบานหน้าต่างทำเป็นบานเกล็ดเปิดปิดได้ เมื่อเข้ามาในบ้านจะเย็นสบายอากาศถ่ายเทสะดวก เนื่องจากตรงกลางบ้านเปิดโล่งเพื่อระบายอากาศ และมีสระน้ำเล็ก ๆ อยู่กลางบ้าน พื้นกระเบื้องจากอิตาลี บันไดไม้มีลวดลายสวยงามมาก เครื่องเรือนส่วนใหญ่เป็นไม้ฝังมุกนำมาจากเมืองจีน มีเครื่องใช้ เครื่องครัวโบราณ ภาพถ่าย ภาพวาดในอดีตที่สวยงามและน่าสนใจ

บ้านชินประชาเปิดให้เข้าชมทุกวัน ค่าเข้าชมคนละ 100 บาท สอบถามรายละเอียด โทร. 0 7621 1167, 0 7621 1281

ความเป็นมาของบ้านชินประชา

บ้านชินประชาสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ.1903) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) บิดาของท่านคือ หลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเนียวยี่) เป็นชาวฮกเกี้ยนที่รับราชการทหารในประเทศจีน ต่อมาบิดาท่านได้เดินทางมายังประเทศไทยในปี พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เกาะภูเก็ต และกิจการค้าขายที่เกาะปีนัง

พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) ผู้สร้างบ้านหลังนี้ ถือกำเนิดที่เกาะภูเก็ตในปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ.1883) เมื่ออายุได้ 20 ปี ท่านได้สร้างบ้านหลังนี้ตามแบบ ชิโน-โปรตุกีส เป็นหลังแรกของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เรียกว่า อังม่อเหลา เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษเมืองจีน วัสดุส่วนอื่นของบ้านนั้นส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ต ในสมัยนั้นเฟื่องฟู เช่น รั้วบ้านจากฮอลแลนด์ กระเบื้องปูพื้นจากอิตาลี ฯลฯ ปัจจุบันบ้านชินประชามีอายุกว่า 100 ปี และมีลูกหลาน นับเนื่องเป็นรุ่นที่ 6 แล้ว

ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าเขาพระแทว

อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตไปอำเภอถลาง เมื่อถึงสี่แยกในเขตเมืองถลางซึ่งอยู่ห่างจากตัวภูเก็ต 18 กิโลเมตร แยกไปทางขวามืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานสัตว์ป่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2512 มีเนื้อที่ 13,925 ไร่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถพบสัตว์ป่าหลายชนิด อาทิ หมูป่า ลิง หมี กระจง และมีพันธุ์ไม้หายากคือ “ปาล์มหลังขาว” ที่นี่เป็นแห่งแรกที่พบ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้

น้ำตกโตนไทร อยู่ห่างจากตัวเมือง 22 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีถึงสี่แยกอำเภอถลางแล้วเลี้ยวขวาไป 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน มีเส้นทางเดินเท้าเพื่อศึกษาธรรมชาติ 3 เส้นทาง ขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่สถานีฯ

น้ำตกบางแป อยู่ห่างจากน้ำตกโตนไทร 2 ชั่วโมง โดยเส้นทางเท้า แต่หากไปทางรถยนต์ไปจากตัวเมืองถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีท้าวศรีสุนทรแล้ว เลี้ยวขวาไปทางตำบลป่าคลอก 9 กิโลเมตร หรือนั่งรถสองแถวไม้ สายภูเก็ต-บางโรงมาลงที่ปากทาง น้ำตกบางแป เป็นน้ำตกขนาดเล็ก รอบๆ เป็นสวนรุกขชาติร่มรื่น มีเส้นทางเดินศึกษาน้ำตกบางแป-น้ำตกโตนไทร ระยะทาง 4 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางมีป้ายสื่อความหมายให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ต้องมีเจ้า หน้าที่นำทาง อนุญาตให้กางเต็นท์พักแรมได้ แต่ต้องนำเต็นท์มาเอง นอกจากนั้นบริเวณน้ำตกบางแปยังมี “สถานีอนุบาลชะนี” ซึ่งเป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของชะนีที่ถูกจับมาเลี้ยงให้ พร้อมที่จะกลับคืนสู่ป่าต่อไป สอบถามรายละเอียดโครงการได้ที่ โทร. 0 7631 8065 E-mail: gibbon@poboxes.com สำนักงานกรุงเทพ ฯ ติดต่อ A project of the Wild Animal Rescue Foundation of Thailand 29/2 ถนนสุขุมวิท 33 กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0 2258 5560 โทรสาร 0 2261 0925

ผู้ที่ประสงค์จะเข้าพักแรมที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์ สัตว์ป่าเขาพระแทว หรือขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อสถานีฯ 254 หมู่ 2 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83100 โทร. 0 7631 1998

ที่ มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พิธียกเสาโก้เต้ง

พิธียกเสาโก้เต้ง
ก่อน 5 โมงเย็น ผู้มีหน้าที่จะให้เด็กตีฆ้องจีนเรียกว่า (โหล) ไปตามถนนร้องบอกประชาชนให้ไปช่วยขึ้นเสาเทวดา และกิ่วอ๋องต่ายเต่ เรียกว่า (คี้โก้เต้ง) เมื่อประชาชนได้ทราบข่าวก็จะมายังศาลเจ้าฯ เป็นจำนวนมาก ครั้นได้เวลาเจ้าหน้าที่เลอไท (ฮวดกั้ว) ทำพิธีเชิญประชาชนก็ช่วยกันดึงเชือกส่วนใหญ่ผู้ใช้ไม้ค้ำยันเสาก็ช่วยกันยัน เสาขึ้นจนเป็นที่เรียบร้อยจึงนำตะเกียงทั้งเก้าดวงเตรียมไว้สำหรับจะดึงขึ้น สู่ยอดเสาก่อนพิธีเชิญพระกิ้วอ๋องต่ายเต่เข้าศาลเจ้า
ประชาชนที่มีรูปเทพเจ้าบูชาตามบ้านเรือนหรือตามห้างร้านค้าจะจุดธูป 3 เล่ม บอกกล่าวอัญเชิญเทพเจ้าเหล่านั้นไปร่วมพิธีกินผัก (เจี่ยะฉ่าย) ที่ศาลเจ้าซึ่งเป็นมณฑลพิธีเป็นจำนวนมาก


พิธีโก้ยเช่งเหี้ยว (เครื่องหอม) ศาลเจ้า
ช่วงระยะเวลาตอนค่ำ ทางเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องในงานพิธีกินผัก ได้จัดเตรียมสิ่งของทุกชนิดที่ใช้ในพิธีการและใช้สักการะบูชาทุกหน้าพระ เรียกว่า ตั๋ว ทุกๆแห่ง
ครั้นได้เวลา 23.00 น เจ้าหน้าที่เลอไท (ฮวดกั้ว) จะทำพิธีไหว้เทพเจ้าตามหน้าที่พระที่มีบรรดาพระหรือเทพที่ประทับอยู่ในศาล เจ้าให้รับทราบขั้นตอนถึงเวลาจะทำพิธีหม้อไฟไม้หอม โก้ยเซ่งเหี้ยว เรียกว่า เส้เจ่ง หรือ หม้อไฟเครื่องหอมจะรมภายห้องภายในโรงครัวศาลเจ้า ที่พักผู้ประทับทรง และตามบริเวณศาลเจ้าแล้วจึงไปวางไว้ที่โต๊ะพิธีเชิญเทวดามาเป็นประธานในพิธี และทำพิธีเชิญพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์ (กิ้วอ๋องต่ายเต่) ซึ่งได่จัดเตรียมไว้ที่หน้าศาลเจ้า



พิธีเชิญยกอ๋องส่งเต่ (พระอิศวร)
ครั้นถึงเวลา 00.15 น. เที่ยงคืนของวันขึ้น 1 ค่ำ (ตามปฏิทินจีน) คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เลอไท (ฮวดกั้ว) ทำพิธีไหว้เทพเจ้าตามพระที่ประทับอยู่ในศาลเจ้าให้รับทราบถึงขั้นตอน เมื่อถึงเวลาอัญเชิญเทวดายกอ๋องส่งเต่ (พระอิศวร) มาเป็นประธานใหญ่ในพิธีกรรมกินผัก มีประชาชนที่มาพร้อมในพิธีได้ร่วมอัญเชิญเทวดาที่หน้าศาลเจ้าเป็นจำนวนมาก เมื่อทำพิธีเชิญเทวดา โดยการเสี่ยงทาย (ปั๊วะโป้ย) เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วต่อจากนั้นจึงอัญเชิญ หม้อไฟไม้หอม กระถางธูปและชื่อเทวดาไปประดิษฐ์บนแท่นบูชา ซึ่งทางศาลเจ้าได้จัดเตรียมไว้เช่นทุกๆ ปีที่เคยปฏิบัติ


พิธีเชิญกิ้วอ๋องต่ายเต่ (พระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์)
หลังจากอัญเชิญเทวดามาเป็นประธานในพิธีเสร็จแล้ว ผู้มีหน้าที่มาช่วยในศาลเจ้าจะต้องเตรียมจุดตะเกียงทั้งเก้าดวงขึ้นไว้เพียงครึ่งเสา อีกไม่นานเจ้าหน้าที่ฮวดกั้ว (เลอไท) จะทำพิธีไหว้ตามหน้าพระอีกตามขั้นตอนจนถึงเวลาเชิญกิ้วอ๋องต่ายเต่ คือ พระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์ โดยการเสี่ยงทาย (ปั๊วะโป้ย) เมื่อทำพิธีเชิญเสร็จเป็นที่เรียบร้อย จึงอัญเชิญหม้อไฟไม้หอม กระถางธูปของกิ้วอ๋องต่ายเต่ (พระราชาธิราชเก้าพระองค์) พร้อมกับชิ้วหลอ คือ กระถางธูปมือถือ เข้าไปยังห้องประดิษฐานชั้นใน เรียกว่า (ไล่ตัว) เปรียบเสมือนพระราชวังที่ประทับชั้นในเป็นที่เรียบร้อย เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือในศาลเจ้าทำพิธีสวดมนต์ (ส่งเก้ง) ดึงตะเกียงทั้งเก้าดวงขึ้นสู่ยอดเสา เป็นอันว่าพิธีการกินผักได้เริ่มขึ้น


เก้าโง๊ยโช่ยอื๊ด วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 จีน
ทางฝ่ายโรงครัวของศาลเจ้า ได้จัดหุงอาหารเตรียมไว้ให้กับประชาชนที่จะนำปิ่นโตมารับอาหารจากโรงครัวไปรับประทานที่บ้าน
ในสมัยก่อนผู้ที่หิ้วปิ่นโตนำอาหารมาจากโรงครัวของศาลเจ้าก่อนจะรับ ประทานอาหารจะต้องจุดธูปไหว้พระในบ้านและจุดไม้หอมพร้อมกันแล้วเอาปิ่นโต หรือหม้อข้าวรมควันไม้หอมเสียก่อน เรียกว่า (โก้ยเช่งเหี้ยว) ทุกครั้งจึงนำอาหารมารับประทานได้


เก้าโง๊ยโช่ยส้า วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9 ของจีน
เมื่อ ทางศาลเจ้าได้ประกอบพิธีเจี่ยะฉ่าย (กินผัก) มาครบ 3 วัน ฮวดกั้ว (เลอไท) เวลา 15.00 น. ทำพิธีไหว้พระแล้วเชิญเทพผู้ใหญ่เข้าประทับทรงรวมถึงเทพอื่นๆ ที่มาร่วมในพิธีออกทำการลงหลักปักเขต รอบอาหารศาลเจ้า ตามทิศต่างๆ ด้วย เต๊กฮู้(ยันต์ไม้ไผ่) ผ่าซีกเขียนชื่อเทพผู้ใหญ่ ไปปักตามจุดที่สำคัญบริเวณศาลเจ้า คือ (ป้างกุ๋น) เป็นการปล่อยทหารออกรักษาการณ์ตามทิศต่างๆ ดังนี้
1.ตั้ง ทิศตะวันออก ธงสีเขียว กิ้วอี่กุ้น (หลุยจินจู้) เป็นแม่ทัพมีทหาร 99,000 นาย
2.หลำ ทิศใต้ ธงสีแดง ปัดบ่านกุ้น (เอี่ยวเจี้ยน) เป็นแม่ทัพมีทหาร 88,000 นาย
3.ไช้ ทิศตะวันตก ธงสีขาว ล๊กย่ง (กุ้นอุ่ยฮ้อ) เป็นแม่ทัพมีทหาร 66,000 นาย
4.ปั๊ก ทิศเหนือ ธงสีดำ ง้อเต๊กกุ้น (โทเฮ่งสุน) เป็นแม่ทัพมีทหาร 55,000 นาย
5.จงเอี๋ย กองกลางธงสีเหลือง ซ่ำซิ่นกุ้น (โลเฉี้ย) เป็นแม่ทัพมีทหาร 33,000 นาย มีหน้าที่รักษาภายในบริเวณศาลเจ้า
นอก จากนี้ยังได้ไปปักหลักเขตตามทิศต่างๆ ของศาลเจ้าและบริเวณที่สำคัญได้แก่ ที่เสาโก่เต้ง จังผ้อแป๋(โรงครัว) กิ้มเต๋ง (เตาเผากระดาษทอง) เมื่อเสร็จพิธีลงหลักปักเขตเสร็จแล้วบรรดาเทพที่ประทับทรงมายังโต๊ะพิธีป้าง โข้กุ้น (ปล่อยทหาร) เป็นอันเสร็จพิธีและจะทำพิธีโข้กุ้น (เลี้ยงทหาร) ไปจนตลอดงานเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00-16.00 น. ทุกวัน


พิธีเชิญล่ำเต้าปักเต้า (ผู้ถือบัญชีคนเกิดและคนตาย)
ในวันเดียวกันตอนค่ำเวลา 19.30 น. เจ้าหน้าที่ฮวดกั้ว (เลอไท) ทำพิธีเชิญเทพเข้าประทับทรงจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญ ล่ำเต้า - ปั๊กเต้า (ผู้ถือบัญชีคนเกิดคนตาย) ซึ่งเคยปฏิบัติมาประดิษฐาน ณ ห้องประทับพระราชวังชั้นกลาง เพื่อมาร่วมรับทราบและร่วมพิธีกรรมในครั้งนี้ด้วย
พอตกดึก เถ้าเก้ล่อจู้ คำว่า ล่อจู้ คือ หัวหน้า รองล่อจู้ คือ ผู้ช่วย เก่าแก้ คือรองจากผู้ช่วย เจ้าหน้าที่พวกนี้จะมีหน้าที่ดูแล ปัดกวาด ดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในศาลเจ้าและอำนวยความสะดวก แนะนำแก่ผู้ที่มาบูชาพระ พวกเขาเหล่านี้ เขาถือว่าเป็นผู้โชคดีที่สุดที่ได้มารับใช้พวกเจ้าหน้าที่เหล่านี้จะต้อง เข้าเวรยามรักษาการณ์ใน
ศาล เจ้า เขาจะนำรายชื่อผู้ที่มาก่าวเอี้ยนลุ้ย (คือ ผู้ที่มาร่วมทำบุญ) มาทำการปั๊วะโป้ย (เสี่ยงทาย) ต่อหน้ายกอ๋องส่งเต่ (พระอิศวร) คัดเลือกฉ้ายอิ้ว คือ (สมาชิก) เรื่อยไปจนถึงวันสุดท้ายเพื่อเตรียมเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้คัดเลือกรายชื่อ เตรียมไว้ช่วยงานศาลเจ้าในปีต่อไปก็คือ เถ้าแก่ล้อจู้


พิธีโก้ยชิดแฉ้ (บูชาเทวดาดาวพระเคราะห์)
เวลา 14.00 น. ทางศาลเจ้าจะปลูกปะรำพิธีหน้าศาลเจ้ามีเทพเจ้าผู้ใหญ่จะทำพิธี เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. คณะกรรมการบริหารและผู้เกี่ยวข้องจะต้องร่วมพิธีเพื่อบูชาบวงสรวงเทพยดา ต่างๆ และดาวพระเคราะห์ เรียกว่า (โก้ยชิดแฉ้ หรือ ป้ายชิดแฉ้) มีการส่งเก้ง (สวดมนต์) อ่านรายชื่อผู้เข้าร่วมกินผักทั้งชายและหญิงและจำนวนข้าวสารที่ใช้ไปในงาน และอวยพรให้ประเพณีกินผักอยู่ยืนยาว และให้ฉ้ายอิ้ว (สมาชิก) อยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันทุกคน จากนั้นผ้าป้อฮู้ เรียก (ผ้ายันต์) ส่วน ฮู้จั้ว คือ กระดาษ (ยันต์) บรรดาพระผู้ใหญ่ที่ประทับทรงอยู่บนปะรำพิธีจะโปรยผ้ายันต์หรือกระดาษยันต์ลง มาให้กับประชาชนที่รอคอยกันอยู่เบื้องล่างเป็นจำนวนมากและผู้คนได้แย่งกัน นับเป็นประเพณีที่แปลกไปอีกอย่างหนึ่ง
ในคืนนี้ ได้จัดเตรียมขบวนแห่สิ่งของต่างๆ เพื่อไปเชี้ยโห้ยที่สะพานหิน ซึ่งเป็นวันคล้ายกับเป็นการระลึกถึงครั้งแรกที่ทางศาลเจ้าต่างๆ ได้ไปเชิญพระกิ้วอ๋องต่ายเต่ (ราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์) พร้อมคัมภีร์พิธีกรรมกินผักต่างๆ ที่มาจากประเทศจีน


พิธีเชี้ยเหี้ยวโห้ย คือ (เชิญธูปจุดไฟจากประเทศจีน)
รุ่งเช้ามือของวันแห่การจัดเตรียมสิ่งของต่างๆ ที่ได้เตรียมไว้เชิญพระผู้ใหญ่เข้าประทับทรงได้เวลาอันสมควรจึงเคลื่อนขบวนแห่ไปยังสะพานหิน การจัดขบวนแห่ที่ใหญ่โตตามลำดับประกอบด้วยดังนี้
1.ค่ายโหล (ฆ้องเบิกทาง)
2.ตั๋วกี๋ (ธงใหญ่)
3.เถ๋ากี๋ (ธงนำหน้า)
4.ป้ายชื่อพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์เสด็จ (กิ้วอ๋องต่ายเต่) เสด็จผ่านและป้ายให้เงียบและสงบ
5.โฉ้ย (ปี่ยาว)
6.เฉ่งตัวโหล (ฆ้องใหญ่)
7.ไท่เผีย หรือ เก่ว (เกี้ยวเล็ก)
8.เทพเจ้าต่างๆ ประทับทรง
9.โฉ้ย (ปี่สวรรค์)
10. เหี้ยวเต่า (เครื่องหม้อไฟหอม)
11.เหนี่ยวซั่ว (ร่ม กระถางธูปมือถือ)

12. ตั่วเลี้ยน (เกี้ยวใหญ่) ที่ประทับสำหรับกิ้วอ่องต่ายเต่ ประทับเมื่อขบวนแห่ไปถึงสะพานหิน เจ้าหน้าที่ฮวดกั้ว (เลอไท) และคณะกรรมการบริหารได้ร่วมทำพิธีเชิญเหี้ยวโห้ย ของ (พระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์) โดยการเสี่ยงทาย (ปั๊วะโป้ย) เมื่อทำพิธีเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงอันเชิญนำขบวนแห่กลับศาลเจ้าตามเดิม


พิธีโก้ยโห้ย
เป็นพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง เมื่อมีการประกอบพิธีกินผัก จะต้องมีการลุยไฟทุกครั้ง เพื่อให้สิ่งเลวรายไปกับเปลวไฟ


พิธีโก้ยห่าน
ผ่าน การสะเดาะเคราะห์ประทับตรามีรูปต่างตัว (โต้ยซี้น) ต่างตัวกับต้นกู้ฉ่าย 1 ต้น กับเศษสตางค์ สำหรับผู้ชายจะเดินข้ามหม้อไฟไม้หอม เดินข้ามสะพานเทพเจ้าประทับตราให้ เมื่อผ่านไปแล้วจึงนำรูปต่างตัวกับต้นกู้ฉ่ายกับเศษสตางค์ลงในแข่งที่รองรับ ไว้ส่วนสำหรับผู้หญิง จะไม่มีหม้อไฟไม้หอม นอกนั้นปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง
การโก้ยหาน เป็นการสะเดาะห์อีกแบบหนึ่ง คือ สำหรับผู้ที่ไม่กล้าลุยไฟที่เป็นผู้ชาย ผู้หญิงหรือเด็กจะเข้ามาทำการโก้ยห่านได้เพื่อจะได้ให้สิ่งเลวร้ายต่างๆจะ ได้ไปพร้อมกับรูปต่างตัว ส่วนต้นกู้ฉ่ายนั้นมีความหมายว่าจะได้อายุยืนยาวต่อไปเหมือนกับต้นกู้ฉ่าย (ความหมาย คืน ต้นกู้ฉ่ายนี้เมื่อตัดต้นมากินแล้ว ส่วนหัวของต้นจะแตกยอดเป็นต้นขึ้นมาอีกจะไม่มีวันหมด ซึ่งเข้าใจกันว่าจะแตกกอและยืนยาวไม่มีสิ้นสุด)


พิธีส่งยกอ๋องส่งเต่ (ส่งพระอิศวร) ขึ้น 9 ค่ำเดือน 9 จีน
ก่อน เที่ยงคืนหรือเที่ยงคืน ทางศาลเจ้าจะจัดโต๊ะทำพิธีส่งพระขึ้นสวรรค์ คือ ส่งเก้งส่างยกอ๋องส่งเต่ คือ เชิญพระอิศวรกลับขึ้นสรวงสวรรค์ ที่มาเป็นประธานใหญ่ในพิธีทั้ง 9 วัน 9 คืน เมื่อครบกำหนดจึงทำพิธีส่งที่หน้าศาลเจ้าจะมีผู้คนส่งเทวดาขึ้นสวรรค์เป็น จำนวนมาก พร้อมกับแจ้งรายงานจำนวนผู้ที่มาร่วมพิธีกินผักทั้งชายหญิงจำนวนเท่าไรใช้ ข้าวสารไปจำนวนกี่กระสอบในปีนี้ให้พระอิศวรรับทราบและขอให้ศาลเจ้าอยู่เป็น หมื่นปีพร้อมกับประชาชนทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน (ฮั่บเก้งเป่งอ้าน)


พิธีส่างกิ้วอ๋องต่ายเต่ (พระราชาธิราชทั้ง 9 พระองค์)
ก่อนเที่ยงคืนหรือหลังเที่ยงคืน จะทำพิธีส่งเก้ง คือ สวดมนต์ รายงานเป็นครั้งสุดท้ายภายในห้องราชสำนักเพื่ออ่านรายชื่อคณะกรรมการ และผู้ที่มาช่วยเหลือพร้อมกับประชาชนทุกๆคน (ฉ้ายอิ้ว) ทั้งชายและหญิงที่มาร่วมในพิธีผักในปีนี้ทั้งหมดจำนวนเท่าไรและรวมถึงข้าวสารให้กิ้วอ๋องต่ายเต่ ได้รับทราบและขอให้ศาลเจ้า จงอยู่เป็นหมื่นปี (ฮับเก้งเป่งอ้าน) ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน
หลังจากทำพิธีส่งเก้งเสร็จแล้ว คณะกรรมการผู้มีหน้าที่เชิญกระถางธูปต่างๆพร้อมทั้งของเล่งก้วนต่ายเต่ (ราชเลขา) ล่ำเต้า-ปั้กเต้า (ผู้ถือบัญชีคนตายและคนเกิด) ออกจากศาลเจ้าไปยัง ณ สถานที่ส่งตามที่ทางศาลเจ้าได้กำหนดไว้


พิธีลงเสาเทวดาและกิ้วอ๋องต่ายเต่ (เซียโก่เต้ง ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 จีน)
วัน ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 จีน ทุกศาลเจ้าเมื่อเสร็จจากพิธีกินผักจะต้องเขียนกระดาษแดง (เลี่ยนตุ่ย) ติดตามประตูต่างๆ ทุกแห่ง จัดเก็บเข้าของที่ได้นำมาใช้ในงาน ส่วนทางฝ่ายโรงครัวจัดทำอาหารคาวมีประเภทเนื้อสัวต์ต่างๆ เตรียมไว้ครั้นถึงเวลา 5 โมงเย็นประชาชนจะมาช่วยกันลงเสาเทวดากับกิ้วอ๋องต่ายเต่ เรียกว่า เซียโก่เต้ง หน้าศาลเจ้าลงแล้วหามเก็บเข้าที่ตามเดิม หลังจากนั้นก็เริ่มพิธีเลี้ยงอาหารเรียกว่า โข้กุ้น ตามทิศต่างๆที่ได้มารักษาการณ์ให้บริเวณงานทั้งภายในและภายนอกศาลเจ้าเชิญ กลับเข้ากรมกองเรียกว่า ซิ่วกุ้น แต่ถ้าหากพิธีซิ่วกุ้น แต่ถ้าหากพิธีซิ่วกุ้นเชิญทหารกลับไม่หมดประชาชนเคราะห์หามยามร้ายจะเกิดมี การต่างๆ (ช้อง) เกิดขึ้นได้ เมื่อเสร็จประชาชนที่ได้เชิญรูปพระหรือเทพต่างๆ ที่นำไปร่วมในพิธีกินผักจะต้องเชิญกลับบ้านหลังจากโข้กุ้น ขุ่ยโฉ้ (กินอาหารคาว) เป็นอันว่าได้สิ้นสุดพิธีกินผักโดยสมบรูณ์ของปีนี้

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ของฝากเมืองภูเก็ต

ของฝากเมืองภูเก็ต
มาเที่ยวภูเก็ตแล้ว ขากลับแวะซื้อของฝากให้คนที่บ้านดีกว่า

ขนมเต้าส้อ
ขนมพื้นเมืองของชาวภูเก็ต มีที่มาจากชาวจีนโพ้นทะเลในมนฑลฮกเกี้ยนที่นิยมคือไส้ถั่วใส่ไข่เค็ม มีจำหน่ายตามร้านขายของฝาก

แกงไตปลาน้ำ (แห้ง, คั่วกลิ้ง)
ไตปลามงคัดพิเศษ นำมาดองให้เปรี้ยว แล้วนำมาเคี่ยวกับเครื่องแกงสุตรเฉพาะ ผสมกับเนื่อปลาย่างและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ รสชาติอร่อยถูกปาก ถูกใจ แบบต้นตำรับปักษ์ใต้แท้ๆ ที่คุณจะติดใจ

น้ำพริกกุ้งเสียบ (สด อบแห้ง)
กุ้งเสียบ โขลกรวมกับกะปิสะปำชั้นดี พร้อมกับเครื่องปรุงอื่นๆ เป็นสินค้า
แนะนำที่คุณไม่ควรพลาดเพราะอร่อยขึ้นชื่อ จนได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดอาหารงาน อ.ย. ภูเก็ตสัญจร ประจำปี 2543

ปลาฉิ้งฉ้างกรอบ
ปลาฉิ้งฉ้างเป็นที่รู้จักกันดี และขึ้นชื่อถึงความอร่อยไม่ว่าจะทอด ยำ หรือเป็นของทานเล่น ทั้งยังให้แคลเซียมสูงอีกด้วย มีปลาฉิ้งฉ้างปรุงรสหลายรสชาดให้คุณเลือกรับประทานตามความพอใจ

มะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของ จ. ภูเก็ต ทั้งด้วยรูปร่างที่โดดเด่น แปลกตาดูเหมือนกับมีเมล็ดโผล่อยู่นอกผลชนิดเดียวในโลก และด้วยภูมิอากาศของ จ. ภูเก็ต ทำให้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ของภูเก็ตมีรสชาติกรอบอร่อย หวานมัน กว่าจากแหล่งอื่น ๆ ทั่วโลก

หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
สินค้าที่เป็นงานฝีมือของคนในท้องถิ่นที่ประณีตงดงาม อาทิ ผ้าปาเต๊ะ
งานแกะสลัก โคมไฟ กระเป๋า เสื้อผ้าพื้นเมือง ผ้าบาติก และอื่นๆ อีกมากมาย
เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเป็นของฝากแก่คนที่คุณรัก


นอกจากนี้ภูเก็ตยังมีสินค้าที่ระลึกอื่นๆ อีก อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทรัพยากรธรรมชาติทาง ทะเล เครื่องดีบุก เครื่องเขิน เครื่องหวาย ผ้าไหม เป็นต้น ซึ่งจะมีแหล่งร้านขายสินค้าที่ระลึกในตัวเมือง


ภูเก็ตมีอาหารพื้นเมืองทั้งคาวหวานที่มีรูปแบบ และวิธีการปรุง รสชาติที่แตกต่างจากที่อื่นหลายชนิด ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภูเก็ต ที่ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาลิ้มลองรสและซึ้อหากลับไปเป็นของฝากเสมอ......

....หมี่ฮกเกี้ยน
หมี่ฮเกี้ยนเป็นหมี่เหลืองเส้นใหญ่นำมาผัดกับซีอิ๊ว มีร้านเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงหลายร้าน และนอกจากนั้นยังนำมาปรุงเป็นหมี่น้ำ หมี่แห้ง ด้วยน้ำซุปกุ้งได้อีกด้วย

....หมี่หุ้นเปาฉ่าง
หมี่หุ้นเป่าฉ่าง เป็นเส้นหมี่ผัดแห้ง รับประทานกับน้ำซุปกระดูกหมู มีร้านเก่าแก่ให้บริการอยู่ปัจจุบัน

.....หมี่สั่ว
หมี่สั่วเป็นอาหารเช้าของคนภูเก็ต จะขายพร้อมกับข้าวต้ม และโจ๊ก เป็นเส้นหมี่ขาวเล็ก ๆ

......โลบะ
โลบะเป็นเครื่องในหมูปรับกับเครื่องพะโล้ นำมาทอดรับประทานกับเต้าหูทอด ราดน้ำจิ้ม มีแตงกวา

.....น้ำพริกขยำหรือน้ำชุบ
น้ำพริกขยำหรือน้ำชุบ เป็นน้ำพริกกะปิน้ำใส ๆ ใส่กุ้งสด หรือปลาฉิงฉาง มีหอมแดงซอย พริก และมะนาว รับประทานกับข้าว หรือขนมจีน

.....น้ำพริกกุ้งเสียบ
น้ำพริกกุ้งเสียบ เป็นน้ำพริกกะปิดำใส่กุ้งเสียบ รับประทานกับผักสด ๆ

......โกเต๊า
โกเต๊า ลักษณะคล้ายกับหอยทอดทางภาคกลาง ใช้หอยนางรม ผัดกับแป้ง เผือก และไข่

.....ขนมเต๊าซ้อ
ขนมเต๊าซ้อ หรือขนมเปี๊ยะภูเก็ต มีใส้หลายชนิด ใส้หวาน ใส้เค็ม

...โอ๊ะเอ๋ว
โอ๊ะเอ๋ว เป็นของหวานคล้ายวุ้นน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ทำมาจากกล้วยน้ำว้าผสมสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง

.....เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยต้นเป็นไม้พื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมากในภูเก็ต ดังนั้นเม็ดมะม่วงหิมพานต์ จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอย่างหนึ่งที่นิยมซื้อเป็นของฝาก มีรูปแบบหลายประเภท อาทิ อบแห้ง ทอด ฉาบ

....สับปะรดภูเก็ต
สับปะรดภูเก็ต เป็นพันธ์พื้นเมืองที่มีรสชาติ หวานกรอบอร่อยต่างจากสับปะรดที่อื่น

.....ขนมจีนภูเก็ต
ขนมจีนเป็นที่นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า มีน้ำแกง ให้เลือกหลายประเภท เช่น น้ำยา แกงไตปลา น้ำพริก แกงปู น้ำชุบ ( น้ำพริกขยำ ) โดยรับประทานกับผักนานาชนิด พร้อมทั้งไข่ต้ม ปาท่องโก๋ และห่อหมก